Best Practice กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรม


Best Practice   กลุ่มอาชีพอุตสาหกรรม

โรงเรียนฟ้าใสวิทยา
สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
…………………………………………….
1. ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน
โรงเรียนฟ้าใสวิทยา  สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  จังหวัดนครปฐม  ที่ตั้ง  109  หมู่ที่  2
ตำบลคลองโยง  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  73170หมายเลขโทรศัพท์  034-300470
หมายเลขโทรสาร  034-300470  เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. ชื่อผลงานที่เป็น Best Practiceกระถางปูน
3.  ขั้นตอนการดำเนินการในรูปแบบ  PDCA
                3.1  ขั้นตอนการวงแผน (P)
                                3.1.1  สำรวจและวิเคราะห์สภาพความพร้อมของบุคลากรและนักเรียน
                                3.1.2  จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมปฏิบัติกิจกรรม
                                3.1.3  ประชุมวางแผนการดำเนินงานอาชีพ
                                3.1.4  สำรวจความต้องการด้านงบประมาณในการพัฒนางานอาชีพ
                                3.1.5  สำรวจความต้องการเกี่ยวกับความพร้อมของสถานที่  วัสดุอุปกรณ์ในการพัฒนางานอาชีพ
                                3.1.6  ประชาสัมพันธ์ถึงกิจกรรมและการดำเนินงาน
                                3.1.7  กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานอาชีพที่ชัดเจน
                3.2  ขั้นตอนการปฏิบัติ  (D)
                                3.2.1  ศึกษาบริบท  วิเคราะห์ความต้องการความเหมาะสมของสถานศึกษาเพื่อพัฒนางานอาชีพในสถานศึกษา
                                3.2.2  แต่งตั้งคณะทำงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน
                                3.2.3  จัดทำแผนงาน/โครงการ  และปฏิทินการปฏิบัติงานอาชีพที่สอดคล้องกับงบประมาณและทรัพยากรโดยมีผู้รับผิดชอบชัดเจน
                                3.2.4  ดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ  กำกับติดตามประเมินผลโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง  และนำผลงานมาปรับปรุง/พัฒนาแผนงาน/โครงการในครั้งต่อไป
                                3.2.5  บูรณาการกิจกรรมงานอาชีพ  แหล่งเรียนรู้  และภูมิปัญญาสู่การเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะวิชาการ  ทักษะอาชีพ  ทักษะการดำรงชีวิตและคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในสถานศึกษา
 
 
                3.3  ขั้นตอนการตรวจสอบ (C)
                                3.3.1ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมของบุคลากรตามแผนงานอาชีพอุตสาหกรรม
                                3.3.2  ติดตามผลการดำเนินงานในการพัฒนา  ความรู้ความเข้าใจทักษะ  เจตคติ  และคุณลักษณะของผู้เรียน
                                3.3.3  ตรวจสอบและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนฯ
                                3.3.4  รวบรวมข้อมูลปัญหา  อุปสรรคข้อเสนอแนะการใช้จ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
                                3.3.5  จัดทำรายงานผลการใช้งบประมาณอย่างต่อเนื่อง
                                3.3.6  ตรวจสอบและประเมินผลการใช้สถานที่  วัสดุ  อุปกรณ์ให้เกิดประโยชน์  คุ้มค่า
                                3.3.7  นิเทศ  กำกับ  ติดตาม  ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอาชีพอย่างต่อเนื่อง
                                3.3.8  ให้มีข้อเสนอแนะแนวทางจากทุกฝ่าย
                                3.3.9  รายงานผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาด้านอาชีพ
                3.4  ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข (A)
3.4.1  นำผลการวิเคราะห์  และประเมินผลการดำเนินงานมาพัฒนางานอาชีพสำหรับการดำเนิน
โครงการครั้งต่อไป
4.  ปัญหา อุปสรรคที่พบระหว่างดำเนินการ  และแนวทางแก้ไข
                4.1  ปัญหา  อุปสรรค
4.1.1 การออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระถางปูน ยังไม่มีตลาดที่รองรับผลิตภัณฑ์ที่แน่นอนจึงทำให้
การจำหน่ายยังไม่ดีเท่าที่ควร
                4.2  แนวทางแก้ไข
4.2.1  ประชาสัมพันธ์และหาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น
5.  ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนและนักเรียน
                5.1  ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
5.1.1  ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้งานอาชีพเพื่อการมีงานทำ
                                5.1.2  โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ด้านงานอาชีพให้กับผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
                5.2  ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
                                5.2.1  นักเรียนมีความรู้ ทักษะและประสบการณ์ในงานอาชีพสามารถนำไปประกอบอาชีพได้
                                5.2.2  นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน
                                5.2.3  นักเรียนได้รับการฝึกระเบียบวินัยและความรับผิดชอบในการทำงาน
 
6.  ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตและการประชาสัมพันธ์
6.1  ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
                6.2  ตลาดในชุมชน
                6.3  ประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์  แผ่นพับ
                6.4  จัดแสดงผลงานกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ
7.  แนวทางการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความยั่งยืน
                7.1  การคัดเลือกและวิเคราะห์แนวทางอาชีพให้อนาคตเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน
โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง และมีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดทักษะการทำงานที่ถูกต้อง
                7.2  มีระบบทุนหมุนเวียนของกิจกรรม
                7.3  ให้มีการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง
8.  ปัจจัยต่อความสำเร็จ
                8.1  ได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
                8.2  สมาชิกกลุ่มงานอาชีพมีความรู้  ทักษะและความสามารถด้านการผลิต  มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
                8.3  มีการประเมินเป็นระยะเพื่อนำจุดอ่อนมาพัฒนา  ปรับปรุง
9.  ภาพกิจกรรม