Best Practice กลุ่มอาชีพคหกรรม


Best Practice   กลุ่มอาชีพคหกรรม

โรงเรียนฟ้าใสวิทยา
สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
…………………………………………….
1. ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน
                โรงเรียนฟ้าใสวิทยา  สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  จังหวัดนครปฐม  ที่ตั้ง  109  หมู่ที่  2
ตำบลคลองโยง  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  73170หมายเลขโทรศัพท์  034-300470
 หมายเลขโทรสาร  034-300470  เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. ชื่อผลงานที่เป็น Best Practiceคุ๊กกี้เนยสด
3.  ขั้นตอนการดำเนินการในรูปแบบ  PDCA
                3.1  ขั้นตอนการวางแผน (P)
                                3.1.1  สำรวจและวิเคราะห์สภาพความต้องการของนักเรียน
                                3.1.2  ประชุมวางแผนกำหนดวางตัวบุคลากรในการดำเนินงานอาชีพ
                                3.1.3  สำรวจและจัดทำข้อมูลบุคคลหรือหน่วยงานซึ่งเป็นภูมิปัญญากับท้องถิ่นในการดำเนินงานอาชีพ
                                3.1.4  สำรวจความต้องการด้านงบประมาณในการพัฒนางานอาชีพ
                                3.1.5  ประชุมวางแผนเพื่อจัดสรรงบประมาณในการพัฒนางานอาชีพ
                                3.1.6  จัดทำคำสั่งเพื่อแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันพิจารณางบประมาณเพื่อพัฒนางานอาชีพ
                                3.1.7  สำรวจความต้องการเกี่ยวกับความพร้อมของสถานที่  วัสดุ  อุปกรณ์  ในการพัฒนางานอาชีพ
                                3.1.8  จัดทำสื่อหรือคู่มือในการดำเนินงาน
                                3.1.9  ประชาสัมพันธ์ถึงกิจกรรมและการดำเนินงาน
                                3.1.10  กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานอาชีพที่ชัดเจน
                3.2  ขั้นตอนการปฏิบัติ  (D)
                                3.2.1  ศึกษาบริบท  วิเคราะห์ความต้องการ  ความสอดคล้องเกี่ยวกับงานอาชีพ  เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการประจำปีที่จะขับเคลื่อนในงานอาชีพ
                                3.2.2  ประชุมชี้แจง  การดำเนินงานตามแผนงาน  โครงการเพื่อขับเคลื่อนพัฒนางานอาชีพในสถานศึกษา  แก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบ
                                3.2.3  ดำเนินการตามแผนงานโครงการเพื่อขับเคลื่อนพัฒนางานอาชีพในสถานศึกษาโดยผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้อง
                                3.2.4  กำกับ  ติดตาม  และประเมินผลการดำเนินงาน  ตามแผนงานโครงการโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
                                3.2.5  จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการและเผยแพร่แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                3.2.6  แก้ไข  ปรับปรุง  พัฒนา  แผนงานโครงการที่เป็นผลสะท้อนจากการประเมินโครงการด้วยการวิเคราะห์  หาสาเหตุและเสนอแนวทางแก้ไขโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
                                3.2.7  วิเคราะห์ความพร้อมและแนวทางพัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนพัฒนางานอาชีพในสถานศึกษาและมีผู้รับผิดชอบแผนงานโครงการที่ชัดเจน
                                3.2.8  ดำเนินการตามแผนงาน  โครงการ  ประสานสัมพันธ์กับชุมชน  องค์กร  หรือหน่วยงานให้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนพัฒนางานอาชีพในสถานศึกษา
                3.3  ขั้นตอนการตรวจสอบ (C)
                                3.3.1ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมของบุคลากรตามแผนงานอาชีพคหกรรม
                                3.3.2  ติดตามผลการดำเนินงานในการพัฒนา  ความรู้ความเข้าใจทักษะ  เจตคติ  และคุณลักษณะของผู้เรียน
                                3.3.3  ตรวจสอบและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนฯ
                                3.3.4  รวบรวมข้อมูลปัญหา  อุปสรรคข้อเสนอแนะการใช้จ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
                                3.3.5  จัดทำรายงานผลการใช้งบประมาณอย่างต่อเนื่อง
                                3.3.6  ตรวจสอบและประเมินผลการใช้สถานที่  วัสดุ  อุปกรณ์ให้เกิดประโยชน์  คุ้มค่า
                                3.3.7  นิเทศ  กำกับ  ติดตาม  ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอาชีพอย่างต่อเนื่อง
                                3.3.8  ให้มีข้อเสนอแนะแนวทางจากทุกฝ่าย
                                3.3.9  รายงานผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาด้านอาชีพ
                3.4  ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข (A)
                                3.4.1  นำผลการวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงานของบุคลากรมาใช้พัฒนางานด้านอาชีพ
                                3.4.2  ประชุมคณะทำงาน  และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อสรุปผลการดำเนินงานด้านบุคลากรและแนวทางแก้ไขหลังดำเนินงานจัดทำโครงการใหม่เพื่อแก้ปัญหาต่อไป
                                3.4.3  นำผลการศึกษาด้านงบประมาณเกี่ยวกับงานอาชีพมาเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบในการตัดสินใจแก้ปัญหาและพัฒนาโครงการใหม่ต่อไป
                                3.4.4  นำผลการศึกษาด้านสถานที่  วัสดุอุปกรณ์  เกี่ยวกับงานอาชีพมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจแก้ปัญหาและพัฒนาโครงการใหม่ต่อไป
4.  ปัญหา อุปสรรคที่พบระหว่างดำเนินการ  และแนวทางแก้ไข
                4.1  ปัญหา  อุปสรรค
                                4.1.1 ครูและบุคลากรที่รับผิดชอบอาชีพยังขาดทักษะและความชำนาญในการทำคุ๊กกี้
                4.2  แนวทางแก้ไข
                                4.2.1  ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนา อบรมเกี่ยวกับอาชีพที่รับผิดชอบ
5.  ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนและนักเรียน
                5.1  ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
                                5.1.1  ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้งานอาชีพเพื่อการมีงานทำ
                                5.1.2  โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ด้านงานอาชีพให้กับผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
                5.2  ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
                                5.2.1  มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  ทำให้นักเรียนมีเวลาว่างในการทำกิจกรรมอาชีพตามความสนใจ
                                5.2.2  นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนจากการจำหน่ายผลงาน
                                5.2.3  นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติงานจริง  แก้ปัญหาเป็น  และพัฒนางานอาชีพอย่างต่อเนื่อง  โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มาใช้ในการทำงานอาชีพ
6.  ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตและการประชาสัมพันธ์
6.1  ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
                6.2  ตลาดในชุมชน
                6.3  ประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์  แผ่นพับ
                6.4  จัดแสดงผลงานกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ
7.  แนวทางการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความยั่งยืน
                7.1  การดำเนินงานในรูปแบบรุ่นต่อรุ่นโดยให้รุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องเพื่อให้การฝึกอาชีพดำเนินอย่างต่อเนื่อง
                7.2  นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้หลังจบการศึกษา
8.  ปัจจัยต่อความสำเร็จ
                8.1  ได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
                8.2  สมาชิกกลุ่มงานอาชีพมีความรู้  ทักษะและความสามารถด้านการผลิต  มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
                8.3  มีการประเมินเป็นระยะเพื่อนำจุดอ่อนมาพัฒนา  ปรับปรุง
 
 
9. ภาพกิจกรรม