Best Practice กลุ่มอาชีพเกษตร


Best Practice   กลุ่มอาชีพเกษตร
โรงเรียนฟ้าใสวิทยา
สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
…………………………………………….
1. ข้อมูลพื้นฐานโรงเรียน
                โรงเรียนฟ้าใสวิทยา  สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ  จังหวัดนครปฐม  ที่ตั้ง  109  หมู่ที่  2
ตำบลคลองโยง  อำเภอพุทธมณฑล  จังหวัดนครปฐม  73170หมายเลขโทรศัพท์  034-300470
หมายเลขโทรสาร  034-300470  เปิดสอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
2. ชื่อผลงานที่เป็น Best Practice    ไข่เค็มไอโอดีน
3.  ขั้นตอนการดำเนินการในรูปแบบ  PDCA
              3.1  ขั้นตอนการวางแผน (P)
                                3.1.1  สำรวจและวิเคราะห์สภาพความต้องการของนักเรียน
                                3.1.2  จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมปฏิบัติกิจกรรม
                                3.1.3  สำรวจความต้องการด้านงบประมาณในการดำเนินงาน
                                3.1.4  ประชาสัมพันธ์ถึงกิจกรรมและการดำเนินงาน
                                3.1.5  กำหนดระยะเวลาการดำเนินงานอาชีพที่ชัดเจน
                3.2  ขั้นตอนการปฏิบัติ  (D)
                                3.2.1  ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการ  ความเหมาะสม  แนวทางการจัดหาด้านงบประมาณเพื่อสนับสนุนการพัฒนางานอาชีพของสถานศึกษาและงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
                                3.2.2  กำหนดแผนงาน/โครงการด้านงบประมาณเพื่อขับเคลื่อน/พัฒนางานอาชีพในสถานศึกษาและผู้รับผิดชอบแผนงาน/โครงการที่ชัดเจน
                                3.2.3  ประชุมชี้แจงการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการด้านงบประมาณเพื่อขับเคลื่อน/พัฒนางานอาชีพในสถานศึกษาแก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายให้รับทราบ
                                3.3.4  ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการด้านงบประมาณเพื่อขับเคลื่อน/พัฒนางานอาชีพ
                                3.3.5  กำกับ  ติดตาม  และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ  ด้านงบประมาณเพื่อขับเคลื่อน/พัฒนางานอาชีพโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
                                3.3.6  จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ  และเผยแพร่แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                3.3.7  แก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนา  แผนงาน/โครงการที่เป็นผลสะท้อนจากการประเมินแผนงาน/โครงการ  ด้วยการวิเคราะห์หาสาเหตุและเสนอแนวทางแก้ไขโดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
                3.3  ขั้นตอนการตรวจสอบ (C)
                                3.3.1  ประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมของบุคลากรตามแผนงานอาชีพ
                                3.3.2  ติดตามผลการดำเนินงานในการพัฒนาความรู้  ความเข้าใจ  ทักษะ  เจตคติ  และคุณลักษณะของผู้เรียน
                                3.3.3  ตรวจสอบและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนฯ
                                3.3.4  รวบรวมข้อมูล  ปัญหา  อุปสรรค  ข้อเสนอแนะ  การใช้จ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
                                3.3.5  จัดทำการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
                                3.3.6  ตรวจสอบและประเมินผลการใช้สถานที่  วัสดุ  อุปกรณ์ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า
                                3.3.7  รวบรวมข้อมูลปัญหา  อุปสรรค  ข้อเสนอแนะการใช้สถานที่  วัสดุอุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง
                                3.3.8  วัดและประเมินผลครอบคลุมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอาชีพ
                                3.3.9  นิเทศ  กำกับติดตาม ส่งเสริม  สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอาชีพอย่างต่อเนื่อง
                                3.3.10  รายงานผลการประเมินโครงการการจัดการศึกษาด้านอาชีพ
                3.4  ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข (A)
                                3.4.1  นำผลการวิเคราะห์  และประเมินผลการดำเนินงานมาพัฒนางานอาชีพสำหรับการดำเนินโครงการครั้งต่อไป
4.  ปัญหา อุปสรรคที่พบระหว่างดำเนินการ  และแนวทางแก้ไข
                4.1  ปัญหา  อุปสรรค
                                การออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไข่เค็ม ไข่เป็ดสด ยังไม่มีตลาดที่รองรับผลิตภัณฑ์ที่แน่นอนจึงทำให้การจำหน่ายยังไม่ดีเท่าที่ควร
                4.2  แนวทางแก้ไข
                                จากปัญหาการออกจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไข่เค็มไข่เป็ดสด จึงต้องพานักเรียนออกจำหน่ายรอบๆบริเวณโรงเรียนตามศูนย์ฝึกอบรมชายบ้านต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนให้เป็นที่รู้จัก
5.  ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนและนักเรียน
                5.1  ผลที่เกิดขึ้นกับโรงเรียน
                                5.1.1  ได้พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้งานอาชีพเพื่อการมีงานทำ
                                5.1.2  โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ด้านงานอาชีพให้กับผู้ที่สนใจทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
 
 
 
                5.2  ผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน
                                5.2.1  มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์  ทำให้นักเรียนมีเวลาว่างในการทำกิจกรรมอาชีพตามความสนใจ
                                5.2.2  นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนจากการจำหน่ายผลงาน
                                5.2.3  นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติงานจริง  แก้ปัญหาเป็น  และพัฒนางานอาชีพอย่างต่อเนื่อง  โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มาใช้ในการทำงานอาชีพ
6.  ช่องทางการจำหน่ายผลผลิตและการประชาสัมพันธ์
                6.1  ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
                6.2  ตลาดในชุมชน
                6.3  ประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์  แผ่นพับ
                6.4  จัดแสดงผลงานกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ
7.  แนวทางการดำเนินงานที่ส่งผลต่อความยั่งยืน
                7.1  การดำเนินงานในรูปแบบรุ่นต่อรุ่นโดยให้รุ่นพี่ดูแลรุ่นน้องเพื่อให้การฝึกอาชีพดำเนินอย่างต่อเนื่อง
                7.2  นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถนำไปประกอบอาชีพได้หลังจบการศึกษา
8.  ปัจจัยต่อความสำเร็จ
                8.1  ได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์
                8.2  สมาชิกกลุ่มงานอาชีพมีความรู้  ทักษะและความสามารถด้านการผลิต  มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ
                8.3  มีการประเมินเป็นระยะเพื่อนำจุดอ่อนมาพัฒนา  ปรับปรุง